อาการทางสายตาของคนเรานั้นมีหลากหลายอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ หนึ่งอาการเหล่านั้นที่มักเกิดขึ้นบ่อย คือ อาการตามัว
ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นหลากหลายชนิด และมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตามัว เพื่อหาวิธีการรักษาได้อย่างถูกวิธี และช่วยให้คุณภาพการมองเห็นกลับมาเป็นปกติได้ บทความนี้ ORRA จึงพามารู้จักกับอาการ ตามัว มากขึ้น ว่าอาการตามัว คืออะไร
แบ่งออกเป็นกี่ประเภท มีวิธีการสังเกตหรือทดสอบอย่างไร มีสาเหตุจากอะไรบ้าง และวิธีการรักษา เพื่อให้ทุกท่านสามารถมีคุณภาพการมองเห็นที่ดีในระยะยาวได้
ตามัว คืออะไร?
อาการ ตามัว (Blurry Vision) คือ การที่คนเรามองเห็นได้ไม่ชัดเจน โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นได้หลากหลายลักษณะ เช่น
- ภาพเบลอทับซ้อน
- มองเห็นเป็นแบบเลือนลาง
- ระยะการมองเห็นที่ชัดเจนมีความสั้นลง
- ไม่สามารถอ่านตัวหนังสือในระยะใกล้ ๆ ได้
- มองเห็นแสงไฟสะท้อน
- มองเห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าเป็นภาพฝ้ามัว
- มองเห็นภาพสีสดใสกลายเป็นสีจาง
- มองภาพแคบลง เป็นต้น
ประเภทของตามัวตามระยะทางการมองเห็น
จากลักษณะของอาการตามัวที่หลากหลาย เราสามารถจัดแบ่งอาการตามัวตามระยะการมองเห็นได้ 2 ประเภท คือ
-
อาการ ตามัวที่มองเห็นไม่ชัดในระยะใดระยะหนึ่งเท่านั้น
เช่น มองใกล้ไม่ชัด หรือมองไกลไม่ชัด ซึ่งอาการประเภทนี้ส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากค่าสายตาของคนเหล่านั้น
-
อาการ ตามัว ที่มองเห็นไม่ชัดในทุกระยะ
เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับความผิดปกติทางด้านดวงตาที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีความรุนแรงมากกว่า อาจเป็นโรคที่เกิดจากดวงตาต่าง ๆ ได้ หากอาการไม่ดีขึ้นควรพบจักษุแพทย์ทันที
ประเภทของตามัวตามระยะเวลาที่เกิดอาการ
ส่วนการแบ่งประเภทของอาการตามัวอีกประการ คือ การจัดแบ่งตามระยะเวลาของอาการที่เกิดขึ้น โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-
อาการ ตามัวแบบชั่วคราว
เป็นอาการที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันหรือเกิดขึ้นเพียงไม่นาน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน และสามารถรักษาให้หายได้ แต่บางกรณีก็มีความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นได้หากไม่ได้รับการรักษา
-
อาการ ตามัว แบบระยะยาว
เป็นอาการตามัวที่เกิดขึ้นถาวร ซึ่งอาจทั้งรักษาให้หายได้หรือไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
ตามัวมีสาเหตุจากอะไรบ้าง??
อาการ ตามัว สามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุ โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 สาเหตุหลัก ดังนี้
1. สาเหตุตามัวจากปัญหาค่าสายตา
คือ ผู้ที่มีค่าสายตายาว ค่าสายตาสั้น หรือค่าสายตา เอียง ทำให้การมองเห็นบางระยะไม่ชัดเจนหรือตามัวบางระยะของการมองเห็นได้ ซึ่งมีที่มาจากกรรมพันธ์ ความเสื่อมตามอายุ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน เป็นต้น
2. สาเหตุตามัวจากโรคทางตาบางชนิด
อาการตามัวอาจเกิดจากโรคที่เกี่ยวกับตา เช่น
โรคต้อกระจก (Cataract) หรือ ภาวะที่เลนส์ตาเกิดความขุ่นมัว ส่งผลให้แสงเข้าไปในดวงตาน้อยลง จอประสาทตารับภาพได้ไม่ชัดเจน ทำให้ตามัว
โรคเยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) ที่อาจจากการติดเชื้อของไวรัส แบคทีเรีย หรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อดวงตา เป็นต้น
3. สาเหตุตามัวจากโรคอื่น ๆ
ที่ส่งผลกระทบกับดวงตา เช่น โรคเบาหวาน (Diabetes) ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน อาจเกิดอาการเบาหวานขึ้นตา(Diabetic Retinopathy) ได้ โดยทำให้ส่งผลให้จอตา (Ratina) บวม และจุดภาพชัด (Macula) ในเส้นขาดเลือด เกิดอาการตามัวชั่วคราว แต่มีโอกาสที่ทำให้เกิดตาบอดได้
ไมเกรน (Migraine) เป็นอาการปวดศีรษะรุนแรง ที่อาจลามไปถึงบริเวณดวงตา ทำให้เกิดอาการตามัวได้
ไซนัส (Sinus) บางครั้งผู้ที่เป็นไซนัสอาจมีอาการปวดตา ตามัว หรือตาแดงได้ ซึ่งหากปล่อยไว้นาน ๆ ไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้ตาบอดได้
4. ตามัวจากปัจจัยอื่น ๆ
เช่น ตาแห้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการตามัวชั่วคราวในระยะสั้น ๆ ซึ่งเกิดจากการใช้สายตาเพ่งเป็นเวลานาน ๆ เช่น การอ่านหนังสือ หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือ หรือคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราตามัวมากน้อยแค่ไหน
เมื่อเรามีอาการตามัว สิ่งที่เราควรทำ คือ การตรวจสอบอาการ โดยการไปพบนักทัศนมาตรจักษุแพทย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการที่เกิดขึ้น โดยการตรวจสอบมีหลากหลายวิธี เช่น
- การสังเกตอาการของตนเอง ว่ามีอาการผิดปกติของสายตาเกิดขึ้นหรือไม่ และมีอาการอื่น ๆ เกิดขึ้นร่วมด้วยหรือไม่ เพื่อใช้ประเมินถึงความร้ายแรงที่เกิดขึ้นและหาวิธีการในการรักษาต่อไป
- การสังเกตลักษณะทางกายภาพของดวงตา ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นหรือไม่ เช่น มีความขุ่นมัว มีตาแดง เป็นต้น
- การทดสอบค่าสายตาด้วยการทดสอบการอ่านตัวเลข โดยการอ่านตัวเลขจาก snellen chart โดยสามารถระบุถึงค่าสายตาว่ามีความสั้น หรือยาวได้คร่าวๆ
- การทดสอบค่าสายตาด้วยเครื่องวัดค่าสายตาอย่างละเอียด มักจะได้รับการตรวจโดยนักทัศนมาตรที่มีประสบการณ์
วิธีการรักษาอาการตามัว
การรักษาอาการตามัวจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตามัว ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อเกิดอาการตามัว คือ ต้องรีบทำการประเมินอาการหรือรีบไปพบนักทัศนมาตรหรือจักษุแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี
โดยตัวอย่างของการรักษาตามประเภทของสาเหตุมีการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมดังนี้
-
ตามัวจากปัญหาค่าสายตา
มีวิธีการรักษาอยู่หลากหลายวิธี เช่น การใส่แว่นสายตา การทำเลสิค การใส่คอนแทคเลนส์ เป็นต้น
-
ตามัวจากโรคทางตาบางชนิด
ต้องได้รับการรักษาด้วยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคทางสายตาโดยเฉพาะ
โรคที่ไม่เกี่ยวกับตา สามารถรับการรักษาจากแพทย์โรคที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงมายังดวงตา และรักษาควบคู่กับจักษุแพทย์หากจำเป็น
-
ตามัวจากปัจจัยอื่น ๆ
บางสาเหตุอาจใช้วิธีการพักผ่อนให้เพียงพอ หรือการรักษาเบื้องต้นด้วยตนเอง เช่น การหยอดน้ำตาเทียม หรือหากมีอาการที่หนักขึ้นและไม่รู้วิธีการในการรักษาให้พบจักษุแพทย์จะดีที่สุด
บทสรุป :
เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุของการเกิดอาการตามัวจะเห็นได้ว่า เราทุกคนมีโอกาสที่จะเกิดอาการตามัวขึ้นมาได้ ซึ่งแต่ละลักษณะก็มีความรุนแรงและวิธีการรักษาที่แตกต่างกันออกไป
สิ่งสำคัญที่สุด คือ อย่าละเลยกับอาการที่เกิดขึ้นควรปรึกษาผู้ที่เชี่ยวชาญเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหรือบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้
ซึ่งหากท่านสงสัยว่าตนเองมีอาการตามัวที่เกี่ยวกับสายตาหรือไม่ หรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมหรือต้องการรับคำปรึกษา มาหาเราที่ ORRA ศูนย์เลนส์โปรเกรสซีฟได้ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11:00 – 20:00น. ทักเราที่นี่ค่ะ LINE:@orra-od