ตาขี้เกียจ โรคสายตาอันตรายในเด็กที่พ่อแม่ทุกคนควรรู้

ตาขี้เกียจ

หลายคนคงเคยได้ยินมาบ่อยหรือรู้จักดีเกี่ยวกับปัญหาสายตาสั้นในเด็ก สายตายาว หรือสายตาเอียง ที่เป็นปัญหาสายตาที่มีคนเป็นกันมาก และมีวิธีการแก้ไขปัญหาให้เลือกมากมาย

เช่น การใส่แว่นสายตา การทำเลสิค เป็นต้น จนเรื่องเหล่านี้กลายเป็นเรื่องปกติและไม่ได้ร้ายแรงอะไรมากนักในปัจจุบัน

แต่รู้หรือไม่ว่าปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นไม่ได้มีเพียงแค่นี้ ยังมีอีกหลายปัญหาที่มีความอันตรายและคนไม่รู้จักจนอาจละเลยจนนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้ หนึ่งในปัญหาที่ว่านั้นคือ ตาขี้เกียจ หรือโรคตาขี้เกียจนั่นเอง

บทความนี้ ORRA จะพาทุกท่านมารู้จักกับปัญหาตาขี้เกียจ ว่าปัญหาตาขี้เกียจนี้คืออะไร มีอาการอย่างไร สาเหตุ วิธีการรักษา และวิธีการป้องกันดังนี้

ตาขี้เกียจ คืออะไร

ตาขี้เกียจ (Amblyopia) หรือเรียกอีกชื่อว่า Lazy eyes คือ ภาวะที่เกิดขึ้นในตาเด็กขณะที่อยู่ในช่วงการพัฒนาของดวงตา ภาวะตาขี้เกียจเป็นผลมาจากความไม่สมดุลในการพัฒนาของสายตาระหว่างตาซ้ายและตาขวา ทำให้มีสายตาหนึ่งข้างที่มีความสามารถในการมองเห็นที่ดีกว่าอีกข้างหนึ่ง

ตาที่มีความสามารถในการมองเห็นที่ดีเรียกว่า “ตาที่ดี” (good eye) และตาอีกข้างที่มีปัญหาในการมองเห็นเรียกว่า “ตาขี้เกียจ” (amblyopic eye) ภาวะนี้ทำให้เด็กมีการมองเห็นที่แย่ลง

แนะนำให้รักษาก่อน 9 ขวบจะสามารถกลับมาปกติได้

ตาขี้เกียจ คือ

อาการของโรคตาขี้เกียจ

พอรู้จักเกี่ยวกับโรคตาขี้เกียจแล้วอาจมีความสงสัยว่า ตาขี้เกียจ มีอาการอะไรที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นภาวะหรือโรคนี้บ้าง โดยหลัก ๆ แล้วโรคตาขี้เกียจจะแสดงอาการได้หลากหลายหรืออย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้

  • ตาพร่ามัว มองไม่ชัดแม้ใส่แว่นสายตา
  • มองไม่ชัดในที่มืด
  • มีจุดขาวในตาดำ
  • มองภาพไม่ตรงต้องเอียงคอจึงจะตรง
  • ตา 2 ข้างมีคุณภาพการมองเห็นที่ไม่เท่ากัน เป็นต้น

สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ที่โดยส่วนมากสาเหตุเหล่านี้เกิดขึ้นในวัยเด็กแต่อาจมาแสดงอาการของโรคตาขี้เกียจในภายหลัง ซึ่งสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคตาขี้เกียจได้มีดังนี้

  • ตาข้างหนึ่งมองไม่ชัดมาตั้งแต่เด็ก ทำให้การพัฒนาประสาทส่วนการมองเห็นจึงเกิดการกระตุ้นในตาข้างเดียวทำให้มองเห็นชัดตาเดียว
  • ตามองเห็นไม่ชัดทั้ง 2 ข้างมาตั้งแต่เด็ก ทำให้สมองพัฒนาประสาทการรับรู้ส่วนอื่นแทน 
  • โรคตาเหล่ ตาเข (Strabismus) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสายตาขี้เกียจมากที่สุด
  • Refractive Errors : สายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงมากๆ ในตาข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้าง
  • หนังตาตก 
  • ต้อกระจกแต่กำเนิด เป็นต้น
ตาขี้เกียจ สาเหตุ

ทำไมโรคตาขี้เกียจจึงมีสาเหตุ

จากการพัฒนาตั้งแต่วัยเด็ก

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าโรคตาขี้เกียจมีสาเหตุจากความผิดปกติของพัฒนาการด้านการมองเห็นที่เกิดขึ้นตั้งแต่เด็กเริ่มตั้งแต่อายุ 0 – 6 ปี

โดยสาเหตุที่ปัญหาหรือความผิดปกติมักเกิดขึ้นช่วงระยะการเติบโตนี้ คือ ช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่ที่ดวงตากำลังพัฒนาในด้านระบบการมองเห็นทุกส่วนที่สอดคล้องกัน ตั้งแต่ระบบประสาทเกี่ยวกับการรับภาพ การส่งกระแสประสาทไปที่สมอง

ดังนั้นหากมีความผิดปกติเกิดขึ้นก็จะทำให้ส่งผลเสียในระยะยาวที่อาจเกิดเป็นโรคตาขี้เกียจได้นั้นเอง ดังนั้นพ่อแม่ทุกคนควรพาลูกไปตรวจตาอย่างสม่ำเสมอในช่วงวัยนี้ เพื่อทำการรักษาทันทีหากพบความผิดปกติเกิดขึ้น เพราะยิ่งรักษาเร็ว ก็สามารถหายเป็นปกติได้

วิธีการรักษาโรคตาขี้เกียจ

วิธีการรักษาโรคตาขี้เกียจมีอยู่หลากหลายวิธีการ โดยต้องทำการรักษาตั้งแต่วัยเด็กจึงจะเห็นผลการรักษาจนสามารถยับยั้งความอันตรายได้ดีที่สุด

ดังนั้นเมื่อพ่อแม่พบอาการที่น่าสงสัยว่าลูกอาจมีอาการสายตาขี้เกียจให้รีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

  • ใส่แว่นสายตาที่เหมาะสมกับค่าสายตาเพื่อให้เด็กสามารถมองเห็นชัดได้มากที่สุด
  • ปิดตาข้างที่มองเห็นชัดเพื่อกระตุ้นให้ข้างที่ไม่ชัดได้รับการพัฒนาการมองเห็น
  • หยอดยาที่มีฤทธิ์คลายการเพ่งและขยายม่านตาในตาข้างที่มองเห็นชัดให้เบลอเพื่อกระตุ้นให้ข้างที่ไม่ชัดได้รับการพัฒนาการมองเห็น
  • การผ่าตัด หากสาเหตุของสายตาขี้เกียจเกิดจากต้อกระจก เลือดออกในน้ำวุ้นตา หนังตาตก ควรผ่าตัดก่อน หลังจากนั้นค่อยฝึกและพัฒนาการมองเห็น โดยปิดตาข้างที่ดีกว่าเพื่อกระตุ้นตาอีกข้างที่ด้อยกว่าให้ถูกใช้งานมากขึ้น
  • การใช้แว่นสายตา หากปัญหาเกิดจากความผิดปกติทางสายตา

ผลของการรักษาโรคตาขี้เกียจจะขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ปกครองเป็นหลัก ตั้งแต่การสังเกตพฤติกรรมการมองเห็นของลูก การพาลูกไปพบแพทย์ตามนัด และการช่วยฝึกพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกอย่างสม่ำเสมออีกด้วย

ตาขี้เกียจ รักษา

วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดโรคตาขี้เกียจ

วิธีการป้องกันโรคตาขี้เกียจที่ดีที่สุดมีเพียงวิธีการเดียว คือ ความเอาใจใส่ของพ่อแม่ที่ต้องเฝ้าระวังอาการเหล่านี้ คอยสังเกตอาการบ่งชี้ให้ดี

ดังนั้นพ่อแม่ทุกคนควรมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาตาขี้เกียจนี้เอาไว้ และสิ่งสำคัญอีกประการคือต้องพาลูกไปพบจักษุแพทย์โรคตาเด็กและตาเขเพื่อตรวจอย่างสม่ำเสมอซึ่งแนะนำให้เริ่มตรวจอย่างละเอียดครั้งแรกช่วง 3 – 5 ปี และตรวจต่อเนื่องเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์ 

บทสรุป : 

โรคตาขี้เกียจ เป็นโรคที่มีความอันตรายจนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากการพัฒนาการมองเห็นของดวงตาตั้งแต่วัยเด็ก 0 – 6 ปี สาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคสายตาขี้เกียจมากที่สุด คือ ตาเหล่ ตาเข ซึ่งการรักษาควรรักษาตั้งแต่วัยเด็กจะได้ผลดีที่สุด

หากต้องการคำปรึกษา ORRA เรายินดีให้บริการอย่างเต็มที่จากผู้เชี่ยวชาญ

ทักเราที่นี่ค่ะ LINE:@orra-od