ภาวะหนังตาตก (ptosis) คือภาวะที่เปลือกตาตกหรือหนังตาหย่อนลงมากกว่าปกติ เกิดจากกล้ามเนื้อยกเปลือกตาทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้ลืมตาได้น้อย มีผลทั้งการมองเห็น และความสวยงาม
ในช่วงอายุแรกเกิดถึง 7-9 ปี เป็นวัยที่มีการพัฒนาการของการมองเห็น หากมีภาวะหนังตาตกมากจนบดบังการมองเห็น จะทำให้พัฒนาการการมองเห็นลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะสายตาขี้เกียจ (lazy eyes) ได้
ภาวะหนังตาตก (Ptosis) คืออะไร
ในปัจจุบัน คนยุคดิจิทัล ใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันไปกับการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ จึงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ดวงตาอ่อนล้าได้ง่าย
หากมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะยกหนังตาไม่ค่อยขึ้น ทำให้มีลักษณะตาปรือ กลายเป็นคนที่ดูง่วงนอนตลอดเวลา
ซึ่งภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย บางรายเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือบางรายอาจเป็นตอนอายุเพิ่มขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ยกเปลือกตามีอาการหย่อนยานหรือยืดจากการใช้งานบ่อย
ภาวะหนังตาตกอาจเป็นข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ ทำให้ตาดูไม่เท่ากัน ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพอย่างเห็นได้ชัด
ส่งผลเรื่องการมองเห็น
ในรายที่เปลือกตาตกลงมากจนบังรูม่านตา จะมีผลต่อการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก อาการที่พบคือ โฟกัสภาพไม่ได้ เกิดภาพซ้อน
ลักษณะคือเห็นภาพ 2 ภาพเหลื่อมกันหรือเห็นภาพแยกออกจากกัน เนื่องจากแนวการมองของดวงตาทั้งสองข้างไม่มองไปในตำแหน่งเดียวกัน แต่หากลองปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง ภาพซ้อนดังกล่าวจะหายไป
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร?
1. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด
เป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่แรกเกิด ลักษณะดวงตาของเด็ก จะไม่มีรอยพับชั้นตา ลืมตาได้ไม่เต็มที่ เป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนา หรือเกิดจากภาวะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือมีความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง
ทำให้เด็กมีภาวะหนังตาตกปิดตาดำมากกว่าปกติ ตาดูปรือ ลืมตาไม่ค่อยขึ้น
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดหรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในเด็ก อาจทำให้ตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นน้อยกว่าอีกข้าง จากหนังตาตกทับดวงตา
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ส่งผลให้บดบังการมองเห็น ทำให้สมองด้านนั้นไม่ได้รับการกระตุ้น จนอาจเกิดภาวะตาขี้เกียจและตาเอียงร่วมด้วย
2. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในคนสูงวัย
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอายุเพิ่มขึ้น โครงสร้างผิวเปลือกตาเกิดความหย่อนคล้อย และกล้ามเนื้อเปลือกตาเสียความยืดหยุ่น จากการใช้งานเป็นเวลานาน
ความแข็งแรงของเปลือกตาและกล้ามเนื้อยกเปลือกตาจะลดลง ออกแรงยกเปลือกตาได้น้อย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตกทับตาดำมากกว่าปกติ จนเกิดปัญหาในการมองเห็น ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมติดเลิกคิ้ว และรอยย่นบริเวณหน้าผากตามมา
3. พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน หรือคนที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการพักสายตา
จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือการใส่คอนแทคเลนส์ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาถูกยืดออก จนเกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้
4. การหลั่งสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ (โรค MG)
โรค MG หรือ Myasthenia Gravis คือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน สาเหตุเกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดี้บางชนิดขึ้นมาผิดปกติ จนเกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อขึ้น
อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยโรค MG คือ อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อยกเปลือกตา ทำให้เกิดภาวะหนังตาตก ลืมตาลำบาก กลอกตาผิดปกติ มองเห็นภาพซ้อน โฟกัสภาพไม่ได้
นอกจากนี้ยังอาจเกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนและหายใจ ทำให้เกิดภาวะกลืนลำบาก สำลักอาหารบ่อย และหายใจผิดปกติ
โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอันตรายไหม?
- คนที่มีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จะทำให้หนังตาดูตก ตาปรือมากกว่าคนที่มีระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตาเป็นปกติ อาจทำให้แต่งหน้าลำบาก ต้องใช้เวลานานในการแต่งรอบดวงตา เพื่อกลบจุดบกพร่อง
- อาจทำให้สูญเสียความมั่นใจในการเข้าสังคม เสียบุคลิกภาพ และอาจเป็นอุปสรรคในการทำงานบางอาชีพได้เลยทีเดียว
- หากเป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพียงข้างเดียว หรือภาวะกล้ามเนื้อตาออกแรงได้ไม่เท่ากัน จะส่งผลให้ตาดูไม่เท่ากันตามไปด้วย จะเห็นว่าดวงตาข้างหนึ่งดูปรืออย่างชัดเจน
- ทำให้ใบหน้าโดยรวมขาดสมดุล ดวงตาดูไม่สวยงาม ส่งผลต่อโหงวเฮ้งของใบหน้า รวมไปถึงทำให้เจ้าของดวงตาสูญเสียความมั่นใจ
เด็กในช่วงอายุแรกเกิดถึง 7-9 ปี อาจส่งผลให้เกิดภาวะสายตาขี้เกียจ (lazy eyes) ได้
วิธีการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
วิธีการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในเบื้องต้น สามารถใช้เทคนิคการบริหารกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยกลอกตาขึ้นบน แล้วลงล่าง กลอกตาไปทางขวา แล้วไปทางซ้าย ทำซ้ำ 2 รอบต่อวัน
อีกวิธีเป็นการปรับโฟกัสดวงตา โดยการใช้ปากกาหรือนิ้วมือยื่นไปด้านหน้า ให้อยู่กึ่งกลางระหว่างดวงตาทั้งสอง และเลื่อนเข้าหาดวงตาช้าๆ เมื่อเห็นเป็นภาพซ้อนให้กลับไปเริ่มใหม่ ทำซ้ำ 20 รอบ วันละ 3 ครั้ง
ควรบริหารกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ด้วย 2 วิธีนี้เป็นประจำ ต่อเนื่องประมาณ 3 สัปดาห์ ช่วยลดอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนล้า ตาอ่อนแรงได้
หรือแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยการผ่าตัดเพื่อปรับระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อยกเปลือกตา
WHY? CHOOSE ORRA
ทำไม? ต้องเลือก ORRA
"ตัดแว่นที่ ORRA ต้องคุ้มค่า"
เพราะเราใส่ใจในทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นตัวสินค้าที่มีคุณภาพ และบริการแบบ "FIRST CLASS SERVICE" ที่เน้นความพอใจของคุณเป็นหลัก
"ไม่ต้องกลัวเสียเงินฟรี"
ORRA เน้นตัดแว่นโปรเกรสซีฟให้ตอบโจทย์การใช้งานและแก้ปัญหาของคุณตามที่คุณต้องการ เพื่อให้คุณได้ใส่แว่นโปรเกรสซีฟที่ใช้งานได้จริง 100%
"ORRA ใช้เครื่องมือตรวจเทคโนโลยีล่าสุด"
ORRA พัฒนาทักษะในด้านของคน และเครื่องมืออยู่เสมอ เพื่อให้แว่นตาโปรเกรสซีฟแต่ละอันมีความแม่นยำและละเอียดที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีปัจจุบันจะทำได้
“กรอบแว่นตาของ ORRA ไม่ทำให้คุณดูแก่แน่นอน”
ORRA มีกรอบแว่นตาให้เลือกมากกว่า 2,000 แบบ โดยเน้นที่การใช้งานและความสวยงามต้องสอดคล้องกัน อีกทั้งเรายังมีผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรมมาช่วยเลือกแว่นให้คุณ
กว่า 70% ของลูกค้า ORRA เป็นลูกค้าที่ได้รับการแนะนำจากเพื่อนหรือคนรู้จักที่มั่นใจและเชื่อใจใน ORRA บอกกันปากต่อปากจน ORRA เป็นที่รู้จักในปัจจุบัน
โปรโมชั่นเดือนนี้
เลนส์โปรเกรสซีฟ ราคาเริ่มต้น 6,990฿ ทุกยี่ห้อ
เลนส์โปรเกรสซีฟของ ORRA ทุกยี่ห้อราคาเริ่มต้นที่ 6,990฿ ไม่ว่าจะเป็น HOYA, Essilor,Nikon, Rodenstock และ Zeiss
และเรามีเลนส์โปรเกรสซีฟให้ลองทุกยี่ห้อก่อนซื้อจริง ไม่ต้องห่วงว่าจะใส่ไม่ได้
“4 ขั้นตอน” ในการตัดแว่นโปรเกรสซีฟกับ ORRA
ยืนยันนัดหมาย
ORRA จะโทรยืนยันนัดหมายล่วงหน้า 1 วัน
พร้อมส่งข้อมูลการเตรียมตัวก่อนมาวัดสายตาให้ท่านทาง LINE@
ตรวจวัดสายตา
เราจะทำการตรวจวัดสายตาและให้คำปรึกษาต่อท่านประมาณ 45-90 นาที
โดยเรามีห้องตรวจ 3 ห้อง เพื่อให้ท่านได้รับบริการอย่างสมบูรณ์
นัดรับแว่นตา
ระยะเวลาในการผลิตและประกอบพร้อมตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งมอบให้ท่านประมาณ 10-14 วัน
ทางเราจะโทรแจ้งเมื่อแว่นถึงร้าน เพื่อนัดให้ท่านมารับ และบริการแนะนำการใช้งาน
บทสรุป :
ภาวะหนังตาตก (ptosis) คือภาวะที่เปลือกตาตกหรือหนังตาหย่อนลงมากกว่าปกติ เกิดจากกล้ามเนื้อยกเปลือกตาทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้ลืมตาได้น้อย มีผลทั้งการมองเห็น และความสวยงาม
ในปัจจุบัน คนยุคดิจิทัล ใช้เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันไปกับการทำงานหน้าคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ จึงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ดวงตาอ่อนล้าได้ง่าย
ในช่วงอายุแรกเกิดถึง 7-9 ปี เป็นวัยที่มีการพัฒนาการของการมองเห็น หากมีภาวะหนังตาตกมากจนบดบังการมองเห็น จะทำให้พัฒนาการการมองเห็นลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะสายตาขี้เกียจ (lazy eyes) ได้
หากคุณมีอาการดังกล่าว ORRA แนะนำให้ไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกล้ามเนื้อตา เพื่อแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงให้หายไป