ตาแพ้แสง แก้ได้ง่าย ๆ ด้วย 3 วิธีการนี้

ตาแพ้แสง

การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการตาแพ้แสง สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจ คือ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับดวงตาที่มีหน้าที่ในการรับแสงจากวัตถุต่าง ๆ ที่มีทั้งวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงและวัตถุที่แสงไปตกกระทบแล้วสะท้อนมาที่ดวงตาของเราเพื่อให้เราสามารถมองเห็นสิ่งเหล่านั้นได้

โดยวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดแสงก็จะสามารถสร้างแสงสีที่แสดงและมีค่าพลังงานที่แตกต่างกัน และกระจกตาของเราจะมีกลไกในการกรองแสงในระดับหนึ่งเพื่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้

แต่แสงเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดอาการแพ้แสงได้เมื่อมีความผิดปกติของดวงตาหรือแสงที่มีค่าพลังงานเกินกว่าที่กระจกตาจะสามารถป้องกันได้หมด

บทความนี้ ORRA จึงจะพามาทำความเข้าใจกับอาการตาแพ้แสงมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่อาการตาแพ้แสงคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร มีผลกระทบอย่างไรบ้าง และวิธีในการรักษาแต่ละวิธีการดังนี้

อาการตาแพ้แสง

คืออะไร

อาการตาแพ้แสง หรือ Photophobia เป็นภาวะที่ดวงตาไวต่อแสง หรือการที่ดวงตาของเราสู้หรือทนกับแสงที่เกิดจากวัตถุที่กำเนิดแสงได้น้อยกว่าปกติ

ซึ่งโดยทั่วไปดวงตาของเราจะสามารถทนต่อแสงได้ในระดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นแสงจากดวงอาทิตย์ หรือแสงจากอุปกรณ์ดิจิทัล

เมื่อเรามีอาการแพ้แสงจะทำให้เรามักเกิดอาการแสบตา ระคายเคืองตา ปวดตา ตาแห้ง หรือตาอักเสบได้ และสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย

โดยความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับความจ้าของแสงที่ได้รับ และความสามารถในการป้องกันแสงของดวงตา

ซึ่งคนที่มีดวงตาสีอ่อนมักจะมีอาการแพ้แสงรุนแรงกว่าคนที่มีดวงตาสีเข้ม เนื่องจากดวงตาสีอ่อนมีเม็ดสีน้อยกว่าดวงตาสีเข้ม จึงปกป้องดวงตาจากแสงได้น้อยกว่านั่นเอง

ตาแพ้แสง

สาเหตุ

ของอาการตาแพ้แสง

อาการตาแพ้แสงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 หมวดหมู่หลัก คือ สาเหตุสุขภาพของดวงตาและโรคอื่น ๆ ที่ส่งผลกับดวงตา สาเหตุจากแสงที่ได้รับ และสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

สาเหตุจากสุขภาพดวงตาหรือโรคอื่น ๆ ที่ส่งผล

  • ผลข้างเคียงของอาการตาล้า หรือตาแห้งจากเพ่งใช้สายตาหนักเป็นเวลานาน ๆ 
  • การอักเสบของม่านตา กระจกตา เยื่อตา หรือตาขาว
  • การทำเลสิค 
  • โรคไมเกรน
  • การได้รับบาดเจ็บที่สมองอย่างรุนแรง
  • เนื้องอกในต่อมใต้สมอง
  • ก้านสมองเสื่อม
  • ต้อกระจก
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุจากแสงที่ได้รับ

  • ได้รับแสงที่มีพลังงานสูง เช่น แสงสีฟ้า  เป็นต้น
  • ได้รับแสงที่มีความจ้าสูง เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน เป็นต้น

สาเหตุอื่น ๆ เช่น

  • การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่พอดีกับดวงตา 
  • การทำเลสิคเพื่อแก้ปัญหาค่าสายตาที่ผิดปกติ
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางประเภท เช่น ยาแก้แพ้ ยาเสพติดบางตัว ยาลดความดันโลหิต เป็นต้น
  • การใช้สายตาในที่มืด หรือในที่แสงไม่เพียงพอ เป็นต้น
ตาแพ้แสง คือ

 ผลกระทบ

ของอาการตาแพ้แสง

ผลกระทบของอาการตาแพ้แสง เมื่อเกิดขึ้นแล้วมักจะทำให้เราเกิดอาการต่าง ๆ หรือความไม่สะดวกสบายขึ้นได้ เช่น

  • เกิดอาการต่าง ๆ ตามมาร่วมด้วย เข่น การแสบตา ปวดตาเมื่อต้องพบกับแสงในชีวิตประจำวัน
  • เกิดความยากลำบากในการดำเนินชีวิต เมื่อต้องพบกับแสงจ้า ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด หรือแสงจากหน้าจออุปกรณ์ดิจิทัลที่จำเป็นต่อการทำงานหรือการประกอบอาชีพอย่างมากสำหรับผู้คนในปัจจุบัน
  • อาจก่อให้เกิดโรคที่มีความร้ายแรงต่อดวงตาอื่น ๆ ตามมา เช่น ต้อกระจก การอักเสบของกระจกตา ปัญหาสายตา หรือแม้กระทั่งการสูญเสียการมองเห็นหากมีความรุนแรงมากขึ้นและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที

ดังนั้นเมื่อตัวเราเองเริ่มมีอาการตาแพ้แสง ควรสังเกตอาการอยู่เสมอและปรึกษาหรือรับการตรวจกับจักษุแพทย์ ซึ่งหากเป็นอาการที่ไม่ได้มีความรุนแรงมากนักสามารถใช้วิธีในการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้

การแก้ไขปัญหาโดยการปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงหรือหลีกเลี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการตาแพ้แสง สามารถทำได้หลากหลายวิธีการ เช่น

  • การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เสริมวิตามินเอเพื่อช่วยในการบำรุงสายตา
  • หลีกเลี่ยงการมองแสงจ้าทั้งแสงแดดและหน้าจอคอมพิวเตอร์
  • เมื่อใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือต้องอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างโดยรอบเพียงพอ
  • พักสายตาเป็นระยะ ๆ เมื่อต้องนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลาหลายชั่วโมง เป็นต้น
ตาแพ้แสง วิธีแก้

การแก้ไขปัญหาโดยการป้องกันด้วยแว่นตา

การสวมแว่นตาเป็นวิธีการที่จะช่วยป้องกันดวงตาของเราจากแสงที่ส่องเข้ามา

โดยวิธีการนี้จะช่วยให้เราเกิดความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตหรือทำงานมากขึ้น และมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาตาแพ้แสงได้มากขึ้นกว่าการปรับพฤติกรรมเพียงอย่างเดียวด้วย

โดยการใส่แว่นตานั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท หลัก ได้แก่ แว่นตาที่มีค่าสายตาสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตาร่วมด้วย และแว่นตาที่ไม่มีค่าสายตาสำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหาสายตา โดยมีรายละเอียดดังนี้

แว่นตาที่มีค่าสายตา

  • ที่เรียกกันว่า “แว่นสายตา” จะเป็นแว่นที่มีคุณสมบัติพื้นฐานคือการปรับระยะการของเห็นสำหรับผู้ที่มีปัญหาสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง ให้สามารถมองเห็นได้อย่างเป็นปกติ
  • โดยการสร้างเลนส์ที่มีค่าสายตา แล้วสามารถเพิ่มคุณสมบัติอื่น ๆ เข้าไปเพิ่มได้ หนึ่งในนั้นคือคุณสมบัติในการกรองแสงหรือป้องกันแสงไม่ให้ผ่านไปยังดวงตามากเกินไป
  • มีทั้งสำหรับแสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากอุปกรณ์ดิจิทัล และทั้งสองรวมกัน ด้วย 2 วิธีการ ได้แก่ การเคลือบเลนส์ด้วยสารที่มีปฏิกิริยากับแสงแล้วทำการป้องกันแสงเหล่านี้
  • และอีกวิธีการคือการย้อมสีเลนส์ให้มีความเข้มขึ้นเพื่อดูดซับแสงก่อนที่จะเข้าไปยังดวงตานั่นเอง 

แว่นตาที่ไม่มีค่าสายตา

  • จะเป็นแว่นตาที่ใช้ในการกรองหรือป้องกันแสงโดยเฉพาะ เช่น แว่นกันแดด แว่นกรองแสงสีฟ้า ซึ่งวิธีการให้ได้มาซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ทำได้ทั้ง 2 วิธีการเช่นเดียวกับแว่นสายตา 

 การแก้ไขปัญหาโดยการใช้ยาในการรักษา

บางครั้งเมื่อเกิดอาการแพ้แสงเกิดขึ้น อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ทำให้เราต้องหาวิธีการในการรักษาเพื่อให้อาการเหล่านั้นหายไป หรืออาจเป็นข้อบ่งชี้ในการเป็นโรคอื่น ๆ ที่ร้ายแรงโดยเราสามารถเลือกใช้วิธีการในการรักษาได้ดังนี้

  • เมื่อมีอาการตาแพ้แสง แล้วเกิดอาการระคายเคือง ตาแห้ง เราสามารถหยอดน้ำตาเทียมเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดวงตาให้อาการเหล่านี้ดีขึ้นได้
  • ไปพบแพทย์ทำการวินิจฉัยและรักษาตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแพ้แสง ซึ่งอาจได้รับการรักษาด้วยวิธีการใช้ยาหยอด ทานยา หรือการรักษาตามต้นเหตุหรือโรคที่เกิดขึ้นต่อไป 
ปรึกษาเรื่องสายตา

บทสรุป : 

หากท่านเป็นคนหนึ่งที่ต้องพบเจอกับแสงไม่ว่าจะเป็นแสงจากดวงอาทิตย์หรืออุปกรณ์ดิจิทัลอยู่บ่อยครั้ง และเป็นระยะเวลานาน ๆ สิ่งสำคัญที่ท่านควรทำ คือ การหาวิธีในการป้องกันให้ท่านห่างไกลจากอาการเหล่านี้

เพื่อให้ท่านได้ใช้ดวงตาได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เกิดอันตรายจากแสงต่อดวงตา

โดยท่านสามารถปรึกษาเราในการหาวิธีการป้องกันที่เหมาะสมได้ด้วยตนเองที่ ORRA ทั้ง 2 สาขา คือ สาขาพระราม 6 เขตพญาไท และสาขาซอยรามคำแหง 53 ทุกวันเวลา 11.00 – 20.00น. 

ทักเราที่นี่ค่ะ LINE:@orra-od