ต้อกระจก กันไว้ดีกว่าแก้ รู้จักกับวิธีการป้องกันต้อกระจก

ต้อกระจก

ORRA พาคุณมารู้จักกับโรคต้อกระจก วิธีป้องกัน และรักษา เพราะดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายมีผลต่อคุณภาพการใช้ชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก

หากดวงตาของเราเกิดความผิดปกติจนส่งผลต่อการมองเห็น จะทำให้การใช้ชีวิตของเรายากลำบากมากขึ้นทั้งในแง่ของการประกอบอาชีพ หรือการแบ่งเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

สารบัญเนื้อหา

ซึ่งต้อกระจกเป็นโรคตาที่มีผู้ที่เป็นโรคนี้จำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป แต่สาเหตุที่เกิดโรคก็มาจากการใช้ชีวิตก่อนหน้านั้นเป็นระยะเวลานาน

ORRA จึงอยากจะมาแบ่งปันเกล็ดความรู้ เพื่อให้ทุกท่านใช้ชีวิตให้ห่างไกลจากต้อกระจก และหากท่านสงสัยว่าท่านอาจกำลังเป็นโรคนี้ หรือเป็นโรคนี้อยู่ จะมีวิธีการรักษาและการดูแลตัวเองอย่างไรกันค่ะ

ต้อกระจก คืออะไร

ก่อนอื่น เราจะมาทำความรู้จักกับ ต้อกระจก กันก่อนว่า ต้อกระจก คืออะไร โดย ORRA จะช่วยสรุปให้ทุกท่านเข้าใจได้ง่ายด้วย 4 ข้อ ได้แก่

สาเหตุต้อกระจก
  • เลนส์ตาเปลี่ยนจากใสกลายเป็นขุ่น
  • แสงไม่สามารถเข้าไปในตาได้ตามปกติ
  • การมองเห็นเหมือนมองผ่านกระจกฝ้า มองเห็นไม่ชัดเจนหรือตามัว
  • ยิ่งเลนส์ตาขุ่นมากขึ้น การมองเห็นจะลดน้อยลง

อาการต้อกระจก

ต้อกระจกจะมีอาการของแต่ระยะที่คล้ายคลึงกัน แตกต่างกันที่จะเพิ่มความรุนแรงของโรคมากขึ้นขึ้นเรื่อย ๆ อาการต้อแรกจะสามารถแบ่งได้ออกเป็น 5 อาการหลัก ๆ ได้แก่

  • มองไม่ชัดอย่างช้าๆ ไม่มีการอักเสบหรือปวด มองเห็นมัวเหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับและตำแหน่งของความขุ่นในเนื้อเลนส์
  • ภาพซ้อน สายตาพร่า เกิดจากความขุ่นของเลนส์แก้วตาไม่เท่ากัน การหักเหของแสงไปที่จอประสาทตาจึงไม่รวมเป็นจุดเดียว ในผู้ป่วยบางรายจะมีสายตาสั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นตาบ่อย ๆ บางรายสายตาสั้นขึ้นจนกลับมาอ่านหนังสือได้โดยไม่ต้องใส่แว่น
  • สู้แสงสว่างไม่ได้ มองเห็นแสงไฟกระจาย โดยเฉพาะขณะขับรถในตอนกลางคืน
  • มองเห็นสีต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ต้องการแสงสว่างมากขึ้นในการมอง
  • เมื่อต้อกระจกสุก อาจสังเกตเห็นเป็นสีขาวตรงรูม่านตา ซึ่งปกติเห็นเป็นสีดำ หากละเลยทิ้งไว้จนต้อกระจกสุกเกินไป อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคต้อหิน การอักเสบภายในตา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตา ตาแดง และอาจถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้

สาเหตุต้อกระจก

สาเหตุต้อกระจก เกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุ เช่น เดียวกับโรคตาประเภทอื่น ๆ โดยสาเหตุต้อกระจกอาจสามารถสรุปได้ 6 สาเหตุ ได้แก่

เป็นความเสื่อมตามวัย

ต้อกระจกเกิดจากความเสื่อมของโปรตีน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเลนส์ตา ทำให้เลนส์ตาขุ่นและแข็งขึ้น มักพบมากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

กรรมพันธุ์

และความผิดปกติแต่กำเนิด การติดเชื้อและการอักเสบตั้งแต่อยู่ในครรภ์

พฤติกรรมการใช้ขีวิต

เช่น การสูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮิล์จัด เป็นต้น

อุบัติเหตุ

การกระทบกระเทือนที่ตาอย่างรุนแรง หรือมีสิ่งแปลกปลอมกระเด็นเข้าไปในดวงตา

มีโรคประจำตัว

ที่ส่งเสริมให้เกิดต้อกระจกได้ เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

ผลข้างเคียงจากการรักษา

เช่น ผ่าตัดจอตา ใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์เป็นเวลานาน เคยโดนฉายรังสีในส่วนบนของร่างกาย ศีรษะ เป็นต้น

วิธีรักษาต้อกระจก

โรคตาแต่ละโรคจะมีวิธีการรักษาที่ถือว่าใกล้เคียงกัน แต่อาจมีวิธีการแต่เฉพาะสำหรับแต่ละโรคนั้น ๆ ด้วย โดยวิธีรักษาต้อกระจก สามารถสรุปได้ 4 วิธีการ ได้แก่

การใส่แว่นสายตา

ในระยะแรกของการเป็นต้อกระจก เนื่องจากในระยะนี้จะมีค่าสายตาที่เปลี่ยนไป การใส่แว่นสายตาเพื่อปรับค่าสายตาให้ เหมาะสมจะช่วยทำให้การมองเห็นดีขึ้นได้

หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง

ที่อาจกระตุ้นให้ต้อกระจกแย่ลงได้ เช่น การอยู่ท่ามกลางแสงแดด เป็นเวลานาน ๆ หากมีความจำเป็นก็ควรสวมแว่นกันแดด เพื่อป้องกันรังสีอัลตร้าไวโอเลต

การผ่าตัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Phacoemulsification)

เมื่อต้อกระจกเป็นมากขึ้น การมองเห็นแย่ลงจนการใส่แว่นสายตาไม่สามารถช่วยให้การดำเนินชีวิตเป็นไปได้อย่างปกติ

การใส่เลนส์ตาเทียม

ซึ่งเป็นการผ่าตัดต้อกระจกแบบเปิดแผลกว้าง (Extracapsular Cataract Extraction with Intraocular Lens) เพื่อเอาตัวเลนส์ตาที่เป็นต้อกระจกออก แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่แล้วจึงเย็บปิดแผลด้วยไหมเย็บแผล

วิธีการป้องกันต้อกระจก

แม้โรคภัยและการเสื่อมสภาพของร่างกายตามวัยจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง แต่สามารถดูแลและป้องกันได้ก่อนสายเกินเยียวยา โดยวิธีการป้องกันต้อกระจกสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์
  • ระวังอย่าให้ดวงตาถูกกระทบกระแทก ควรสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่อดวงตากรณีทำงาน เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงาน
  • สวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลต
  • พักสายตาเป็นระยะหากต้องใช้สายตาติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • งดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์จัด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • การใช้ยาหยอดตาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้
  • ควรตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปควรตรวจเป็นประจำทุกปี
แว่นกันแดด ต้อกระจก

วิธีเลือกแว่นกันแดด

เพื่อป้องกันต้อกระจก

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าวิธีหนึ่งในการป้องกันและดูแลรักษาเมื่อเป็นต้อกระจก คือการใส่แว่นกันแดด แม้ไม่มีแว่นเฉพาะ แว่นกันแดดต้อกระจก แต่สามารถใช้ตัวเลือกเลนส์เหล่านี้เป็นข้อพิจารณาในการเลือกแว่นกันแดดได้ คือ

  • เลนส์ย้อมสีธรรมดา จะตัดแสงทุกสีในปริมาณเท่า ๆ กัน เหมาะกับใช้กลางแจ้งทั่วไป
  • เลนส์ Polalized มีคุณสมบัติป้องกันแสงที่สะท้อนผ่านเลนส์ ไม่ทำให้สายตาพร่ามัว ทั้งยังช่วยตัดแสงที่เข้ามากระทบกับดวงตาได้ดีอีกด้วยเหมาะสำหรับการขับรถและกิจกรรมเล่นกีฬากลางแจ้งได้
  • เลนส์ Photochromic เลนส์จะเปลี่ยนกับความเข้มของสี ตามปริมาณแสง เมื่ออยู่กลางแจ้งจะเและจางเมื่ออยู่ในที่ร่ม เหมาะสำหรับคนที่ทำงานทั้งที่ร่มและกลางแจ้ง
  • เลนส์แบบไล่สี มีการไล่ระดับของความเข้มของสีบนแลนส์ โดยส่วนบนจะเข้มกว่าด้านล่างไล่เรียงลงมาเพื่อเข้ากับระยะการมองและความแข้มของแสงที่ได้รับ

อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญในการเลือกแว่นกันแดด คือ การดูที่ฉลากที่กำกับแว่นว่าสามารถป้องกันรังสี UVA และ UVB ได้หรือไม่ เพราะรังสีอุลตร้าไวโอเล็ตทั้งสองชนิดนี้ต่างก็ทำลายนัยน์ตา UVB นั้นจะดูดซึมที่กระจกตา

แต่ถ้ารับแสงจ้านานเกินควร อาจจะทะลุไปที่จอรับภาพได้ ส่วน UVA จะดูดซึมเข้าไปได้ลึกกว่า ดังนั้นการเลือกแว่นกันแดดคุณภาพดีจึงเปรียบเสมือนทาครีมกันแดดชั้นดี ให้แก่ดวงตา

ปรึกษาเรื่องสายตา

บทสรุป : 

องค์กรอาหารและยาสหรัฐอเมริกา กำหนดไว้ว่า แว่นกันแดดที่ได้มาตรฐานอย่างน้อยต้องสามารถป้องกัน UVA ได้ 95 เปอร์เซนต์ และ UVB 99 เปอร์เซ็นต์ ส่วนหากต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความสว่างมาก ควรเลือกเลนส์ที่สามารถลดความเข้มแสงได้สูงถึง 97 เปอร์เซ็นต์

และสำหรับการใช้งานทั่วๆไป เช่น การเดินเล่นตามชายหาดหรือขับรถ เลือกเลนส์ที่ตัดแสงได้ 70-90 เปอร์เซ็นต์ ก็นับว่าเพียงพอแล้ว

ต้อกระจก สามารถป้องกัน รักษา และบรรเทาอาการได้ หากเรารู้วิธีการที่ถูกต้องจะช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ หากต้องการรับคำปรึกษาสามารถเราค่ะ ได้ที่นี่ค่ะ