วิธีการรักษาและวิธีการป้องกันปัญหาสายตาที่ทำได้ทุกช่วงวัย

ปัญหาสายตา

ร่างกายของคนเราประกอบด้วยอวัยวะมากมายถึง 32 อวัยวะ โดยที่แต่ละอวัยวะก็มีหน้าที่แตกต่างกันออกไปและล้วนทำให้เราสามารถใช้ชีวิตอย่างมีสะดวกได้

เช่น มือช่วยให้เราสามารถหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้ เท้าและขาสามารถช่วยให้เราเคลื่อนที่ไปยังที่ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก หรือตาที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเพื่อเดินหรือหยิบจับสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก

ดังนั้นอวัยวะต่าง ๆ จึงต่างมีประโยชน์ที่สอดประสานกันในการใช้ชีวิตของคนเราอย่างแยกไม่ออก และคงไม่ดีหากเกิดปัญหาขึ้นกับอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสายตา ปัญหาแขนขา หรือปัญหาหู เพราะจะทำให้การใช้ชีวิตของเรายากลำบากขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไขหรือการรักษา

โดยบทความนี้ ORRA จะพาไปทุกท่านมาทำความเข้าใจกับปัญหาของอวัยวะหนึ่งที่สำคัญอย่างมาก นั่นก็คือ ปัญหาสายตา ที่ทำหน้าที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัว เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก

ซึ่งหัวข้อที่จะกล่าวถึงมีทั้งประเภทของปัญหาสายตา สาเหตุ การตรวจวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันดังนี้

ปัญหาสายตาคืออะไร

ปัญหาสายตา คือ อาการหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตาที่ส่งผลให้คุณภาพในการมองเห็นลดลง ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นนี้มีได้หลากหลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการมองไกลไม่ชัด มองใกล้ไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน

อันเป็นผลมาจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตาในแง่ของลักษณะทางกายภาพของดวงตา เช่น ความโค้ง หรือความหนาแตกต่างไปจากเดิม เป็นต้น

เมื่อเกิดปัญหาเหล่านี้ขึ้นสิ่งสำคัญอันดับแรกคือการรู้ให้ได้ว่ากำลังเผชิญกับปัญหาสายตาประเภทใดอยู่เพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกวิธี

ปัญหาสายตา สั้น

 ปัญหาสายตา 4 ประเภท

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าปัญหาสายตาสามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายลักษณะ ซึ่งจะแสดงออกด้วยอาการหรือลักษณะทางกายภาพของดวงตา โดยสามารถแบ่งปัญหาสายตาออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

  • สายตาสั้น คือ สายตาที่ระยะการมองชัดเจนสั้นกว่าปกติ ทำให้มองระยะไกลไม่ชัด 
  • สายตายาว คือ สายตาที่ระยะการมองชัดเจนยาวกว่าปกติ ทำให้มองระยะใกล้ไม่ชัด
  • สายตาเอียง คือ สายตาที่องศาการรับแสงของดวงตาผิดเพี้ยนไป ทำให้เห็นภาพซ้อน 
  • สายตายาวในผู้สูงอายุ คือ สายตาที่ระยะการมองชัดเจนยาวกว่าปกติ ที่มีสาเหตุต่างจากสายตายาวอีกประเภท จึงต้องแยกอย่างชัดเจนเพื่อความง่ายในการทำความเข้าใจ

สาเหตุของปัญหาสายตา

ปัญหาสายตาเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยสามารถสรุปได้เป็น 5 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่

  • การได้รับการส่งต่อพันธุกรรมจากพ่อแม่ที่มีปัญหาสายตา
  • ความเสื่อมตามอายุ เมื่ออายุมากขึ้นก็มีโอกาสที่จะมีปัญหาสายตามากขึ้น
  • การใช้สายตามากจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การอ่านหนังสือ การใช้อุปกรณ์ดิจิทัล เป็นต้น
  • ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการทำคลอด เช่น การคลอดก่อนกำหนด เป็นต้น
  • อุบัติเหตุหรือผลกระทบจากการผ่าตัด 
ปัญหาสายตา เอียง

การตรวจวินิจฉัยปัญหาสายตา

เมื่อมีปัญหาสายตาเกิดขึ้น สิ่งที่ควรทำเพื่อให้รู้ว่าปัญหาที่กำลังเผชิญเป็นปัญหาประเภทใด คือ การไปตรวจวินิจฉัยปัญหาสายตา โดยสามารถทำได้ 2 วิธี ได้แก่ 

  • การตรวจกับสถานพยาบาลกับจักษุแพทย์ ที่เชี่ยวชาญสามารถตรวจวินิจฉัยปัญหาสายตาและปัญหาที่เกี่ยวกับโรคทางตาได้
  • การตรวจกับนักทัศนมาตรหรือหมอสายตาที่ร้านตัดแว่นสายตา ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องระบบการมองเห็นของมนุษย์หรือสายตาโดยเฉพาะ 

ซึ่งวิธีการใดเหมาะสมกว่ากันนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของอาการ หากไม่มีอาการที่บ่งบอกถึงโรคทางตา

วิธีการไปตรวจกับนักทัศนมาตรจะมีความแม่นยำมากกว่าเนื่องจากใช้เครื่องมือวัดสายตาโดยเฉพาะ มีความทันสมัย และพร้อมที่จะแก้ไขปัญหาให้ได้ทันทีด้วยการตัดแว่นสายตา

 การรักษาปัญหาสายตา

วิธีการรักษาปัญหาสายตาที่นิยมอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ 3 วิธีการ ได้แก่

  • การสวมแว่นสายตา ข้อดีคือเป็นวิธีที่ปลอดภัยและความเสี่ยงน้อย และเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
  • การสวมคอนแทคเลนส์ ข้อดีคือมีความสวยงามและเป็นธรรมชาติมากกว่า แต่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อดวงตาหากทำไม่ถูกต้อง
  • การผ่าตัดด้วยเลเซอร์ ข้อดีคือเป็นวิธีที่แก้ไขปัญหาให้หายไปโดยที่ไม่ต้องสวมใส่อะไร แต่มีความเสี่ยงจากการผ่าตัด
ปัญหาสายตา ยาว

การป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสายตา

จะดีที่สุดหากเราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสายตาได้ ถึงแม้จะยากในการป้องกันก็ตาม เนื่องจากมีปัจจัยหลายปัจจัยที่ควบคุมได้ยากหรือควบคุมไม่ได้ แต่อย่างไรก็ตามการป้องกันก็เป็นสิ่งที่ควรทำ โดยเราแนะนำวิธีป้องกันปัญหาสายตาที่ทุกคนควรทำ 5 วิธีการ ได้แก่

  • พักผ่อนให้เพียงพอเหมาะสมตามวัย
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีวิตามิน A
  • ใช้อุปกรณ์ดิจิทัลแค่เท่าที่จำเป็น และควรใส่แว่นกรองแสงสีฟ้าเพื่อลดความเสี่ยง
  • ลดการเพ่งของสายตาในกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อ่านหนังสือในที่ที่มีแสงเพียงพอ เป็นต้น
  • สวมแว่นกันแดดเมื่อต้องอยู่กลางแดดเป็นเวลานานหรือเผชิญแสงจ้าตอนขับรถ

บทสรุป : 

ปัญหาสายตาเป็นอาการหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตาที่ส่งผลให้คุณภาพในการมองเห็นลดลง ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง หรือสายตายาวตามวัย มีสาเหตุที่ติดตัวมาแต่กำเนิดและสามารถเกิดขึ้นได้ภายหลังจากอายุหรือพฤติกรรม

และสามารถรักษาได้ด้วยการสวมแว่นสายตา คอนแทคเลนส์ หรือทำเลสิค ซึ่งหากยังไม่มีปัญหาสายตาการป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งแว่นตามีความเกี่ยวข้องทั้งการรักษาและการป้องกันปัญหาสายตา

หากท่านต้องการตัดแว่นตามาที่ ORRA ศูนย์เลนส์โปรเกรสซีฟ เรายินดีให้บริการด้วยความเต็มใจ

ทักเราที่นี่ค่ะ LINE:@orra-od