การมองเห็นของเราหากสายตาหรือดวงตาไม่ผิดปกติ จะต้องมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่บางครั้ง เราอาจมีอาการมองเห็นที่แปลก ๆ เกิดขึ้น เช่น เห็นภาพซ้อน เห็นภาพเบลอ มองไกลไม่ชัด มองใกล้ไม่ชัด เป็นต้น
ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ชั่วขณะหรือถาวรขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการ
บทความนี้ ORRA จะพามาทำความรู้จักกับอาการหนึ่ง คือ เห็นภาพซ้อน ว่าอาการมองเห็นภาพซ้อนคืออะไร มีสาเหตุอย่างไร และวิธีในการรักษาอย่างไรบ้างดังนี้
มองเห็นภาพซ้อน คืออะไร
อาการมองเห็นภาพซ้อน คือ ความผิดปกติของภาวะการมองเห็นของเรา ที่ทำให้เรามองเห็นภาพวัตถุหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวมีเงาซ้อนเหมือนเขียนย้ำๆ หลายๆรอบ หรือจากที่มีอยู่ 1 อัน อาจเห็นเป็น 2 อัน แบบลาง ๆ โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแนวนอน แนวตั้ง และแนวทแยง
ส่งผลต่อคุณภาพการใช้ชีวิตของเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาจทำให้เราเกิดอุบัติเหตุจากการเห็นภาพซ้อนได้ และยังทำให้ไม่สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างปกติ
ซึ่งสาเหตุของการมองเห็นภาพซ้อนนั้นมีสาเหตุที่สามารถวินิจฉัยได้อย่างหลากหลาย เช่น อาจเป็นสาเหตุมาจากค่าสายตาที่ผิดปกติ สายตาเอียง โรคทางตา หรือสาเหตุอื่น ๆ ก็เป็นไปได้ ซึ่งจะกล่าวถึงโดยละเอียดในลำดับถัดไป
สาเหตุมองเห็นภาพซ้อน
จากค่าสายตาที่ผิดปกติ
สาเหตุของการมองเห็นภาพซ้อน สาเหตุแรก คือ ความผิดปกติของค่าสายตาหนึ่งที่เรียกว่า “สายตาเอียง”
โดยมีสาเหตุจากความโค้งของกระจกตาที่ไม่เท่ากัน หรือรูปทรงของดวงตาที่ผิดปกติ ทำให้การหักเหของแสงที่เข้ามาสู่ดวงตามีการกระจาย
จึงทำให้ผู้ที่มีสายตาเอียงจะมีอาการเห็นภาพซ้อนเป็นหนึ่งในอาการที่เกิดขึ้นได้นั่นเอง ซึ่งอาการอื่น ๆ สำหรับผู้ที่มีสายตาเอียง เช่น เห็นแสงไฟกระจาย และภาพซ้อนหนักมากในตอนกลางคืน เป็นต้น
ซึ่งอาการสายตาเอียงนี้เอง เป็นสาเหตุของอาการมองเห็นภาพซ้อนที่เกิดขึ้นมากที่สุด และไม่ได้มีความรุนแรงต่อสุขภาพดวงตามากนัก และมีวิธีการในการรักษาและแก้ไขปัญหาที่มีคุณภาพและหลากหลายมากในปัจจุบัน
สาเหตุมองเห็นภาพซ้อน
จากโรคทางดวงตา
สาเหตุประการที่สอง คือ โรคหรือความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับดวงตา เช่น
- โรคต้อกระจก หรือภาวะที่ตามีความขุ่นมัวและอาจทำให้เห็นภาพซ้อน โดยเฉพาะในตอนกลางคืน
- โรคต้อเนื้อ หรือภาวะที่เยื่อตาหนาขึ้นและยื่นออกไปยังกระจกตา
- ความเสียหายของเส้นประสาทตา
- ความเสียหายของกล้ามเนื้อในดวงตา
- จอประสาทตาบวม
- แผลเป็นบนจอประสาทตา
- กล้ามเนื้อตาหนาตัวขึ้น
- กระจกตาเคลื่อน เป็นต้น
สาเหตุมองเห็นภาพซ้อน
จากปัจจัยอื่น ๆ
สาเหตุประการสุดท้าย เป็นสาเหตุมาจากปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นโรคที่ไม่ใช่โรคตาโดยตรงแต่อาจส่งผลกับดวงตา หรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นที่ส่งผลกระทบให้เกิดการมองเห็นภาพซ้อนที่มาจากค่าสายตาที่ผิดปกติหรือโรคทางสายตาก็ได้ เช่น
- โรคหลอดเลือดสมอง
- โรคเนื้องอกในสมอง
- โรคสมองบวม
- โรคหลอดเลือดโป่งพองในสมอง
- โรคไทรอย
- การบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ เป็นต้น
และจะมีเรื่องของกล้ามเนื้อตา ที่ส่งผลทำให้ภาพซ้อนได้อีกด้วย
วิธีการรักษา
การมองเห็นภาพซ้อน
วิธีในการรักษาการมองเห็นภาพซ้อนสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ การรักษาไปที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการมองเห็นภาพซ้อน และการรักษาที่ปลายเหตุหรืออาการมองเห็นภาพซ้อนที่เกิดขึ้นดังนี้
- การรักษาไปที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการมองเห็นภาพซ้อน เป็นการแก้ไขปัญหาจากสาเหตุที่ทำให้มองเห็นภาพซ้อนได้ทั้ง 3 สาเหตุ ซึ่งวิธีการรักษาในแต่ละสาเหตุก็ขึ้นอยู่กับโรค อาการ หรือความผิดปกติที่เกิดขึ้น
เช่น หากรักษาที่ความผิดปกติของค่าสายตาที่เกิดจากความโค้งที่ผิดปกติของดวงตา วิธีการรักษาคือการผ่าตัดเพื่อให้กระจกตามีความโค้งกลับมาเป็นปกตินั่นเอง ส่วนโรคอื่น ๆ ก็รักษาตามวิธีการรักษาของโรคนั้น ๆ
2. การรักษาที่ปลายเหตุหรืออาการมองเห็นภาพซ้อนที่เกิดขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยการใส่แว่นสายตาหรือคอนแทคเลนส์ที่ช่วยให้การหักเหของแสงมีความพอดีกับการรับแสงของดวงตา ทำให้ปัญหามองเห็นภาพซ้อนหายไปได้
แว่นสายตาแบบไหน
เหมาะกับคนที่มองเห็นภาพซ้อน
แว่นสายตาแบบที่เหมาะกับผู้ที่มองเห็นภาพซ้อน คือ แว่นสายตาที่แก้ไขปัญหาสายตาเอียง และมีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มความคมชัดในการมองเห็น
ซึ่งอาจมีการเพิ่มค่าสายตาอื่น ๆ เข้าไปด้วยหากมีปัญหาสายตาอื่นร่วมกับปัญหาสายตาเอียง หรือการเลือกเลนส์แว่นสายตาที่ให้ความคมชัดสูงหรือเคลือบเลนส์ของแว่นสายตาให้มีความคมชัดมากยิ่งขึ้นได้
แต่ถ้าหากคุณมีสายตาเอียงและสายตายาวร่วมด้วย ก็แนะนำเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟ ที่ช่วยให้มองชัดทุกระยะโดยไม่ต้องถอดแว่นเข้าออก
ส่วนคุณสมบัติอื่น ๆ ที่เพิ่มเข้าไปได้ เพื่อบรรเทาอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุที่ก่อให้มองเห็นภาพซ้อน เช่น การเคลือบเลนส์เปลี่ยนสีอัตโนมัติ การเคลือบสารป้องกันแสงสีฟ้า หรือการเคลือบเลนส์หลายชั้น เพื่อลดแสงจ้าของแสงไฟ เป็นต้น
บทสรุป :
เมื่อเรามองเห็นภาพซ้อน หลายคนอาจมีความกังวลว่าจะมีสาเหตุมาจากโรคที่มีความร้ายแรงหรือไม่ อาจเป็นอาการที่บ่งบอกโรคต่าง ๆ รึเปล่า
คำถามเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้น เราไม่ควรใช้วิธีการเดาเอาเอง แต่ควรไปพบนักทัศนมาตรหรือจักษุแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยหรือทำการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือ นัดหมายเข้ารับบริการได้ที่ ORRA ทั้ง 3 สาขาใกล้บ้านคุณ
เราเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 11.00 – 20.00น. หรือติดต่อนัดวันและเวลาล่วงหน้าได้ที่เบอร์ 062-651-2365 หรือที่ Line Official : @orra-od แจ้งวันและเวลากับเจ้าหน้าที่