บทความนี้ ORRA จะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจกับอาการตาล้ามากขึ้น ว่าอาการนี้เป็นอย่างไร มีสาเหตุจากอะไร มีวิธีการป้องกัน วิธีการบรรเทาอาการ และวิธีการรักษาอย่างไร เพื่อให้ถนอมสายตาของท่านได้ดีที่สุดดังนี้
วิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นคนที่กำลังอยู่ในวัยเรียน วัยทำงาน หรือวัยเกษียณ ทุกคนต่างต้องใช้สายตามากขึ้นจากการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในชีวิตประจำวันของเรา
ครอบคลุมตั้งแต่การประกอบอาชีพ การให้ความบันเทิง การติดต่อสื่อสาร เป็นต้น
ในแต่ละวันเราจึงต้องใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเวลานาน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ส่งผลเสียต่อดวงตาของเราเนื่องจากมีแสงสีฟ้าจากหน้าจอที่เป็นอันตรายต่อดวงตาของเรา
และหากจ้องนาน ๆ จะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมาหนึ่งในนั้น คือ อาการตาล้า นั่นเอง
อาการตาล้า คืออะไร
อาการตาล้า (asthenopia) เป็นอาการหรือภาวะที่เกิดขึ้นจากการใช้ดวงตาหรือสายตาหนักจนเกินไปจนทำให้เกิดการเมื่อยล้าของดวงตา แล้วแสดงออกมาเป็นอาการต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่าสายตามีการใช้งานหนักเกินไปจนอาการเมื่อยล้า
ซึ่งก็มีความคล้ายคลึงกับร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่เป็นปกติที่จะมีความเมื่อล้าหากมีการใช้งานที่หนักเกินไปเช่นเดียวกัน และไม่ได้มีอันตรายมากนักในระยะสั้น แต่หากเกิดขึ้นบ่อยอาจเป็นความเสี่ยงที่จะเกิดโรคสายตาต่าง ๆ ได้ เช่น สายตาสั้น สายตายาว ต้อกระจก เป็นต้น
ลักษณะอาการตาล้าที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง
เราจะรู้ได้อย่างไรเมื่อมีอาการตาล้าเกิดขึ้น คำตอบ คือ เราสามารถรู้ได้จากอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับดวงตาหรือสายตาของเรา เช่น
- รู้สึกตึงบริเวณขมับ
- รู้สึกตึงบริเวณท้ายทอย
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ตากระตุก
- ปวดตา
- ปวดกระบอกตา
- ตาแห้ง
- คันตา
- แสบตา
- มีน้ำตาไหล
- ตาแดง
- ตาพร่ามัว
- มองเห็นไม่ชัด
- ตาไวต่อแสง เป็นต้น
สาเหตุของอาการตาล้า
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาล้าเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ โดยสามารถจำแนกออกเป็น 3 สาเหตุหลัก ได้แก่
- สาเหตุจากพฤติกรรมการใช้สายตาที่เพ่งมองเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือ การทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ การใช้โทรศัพท์มือถือ การขับรถในตอนกลางวัน การใช้สายตาในที่แสงน้อย เป็นต้น
- สาเหตุจากสภาพแวดล้อมที่ใช้สายตา เช่น การสัมผัสกับมลภาวะมาก ๆ ดวงตาสัมผัสกับลมมากจนทำให้ตาแห้ง เป็นต้น
- สาเหตุจากความผิดปกติของดวงตาหรือสายตา ที่ทำให้การมองเห็นผิดปกติและทำให้เกิดอาการตาล้าได้ง่าย เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง กระจกตามีปัญหา เป็นต้น
วิธีการป้องกันอาการตาล้า
หากไม่ต้องการให้เกิดอาการตาล้า มีวิธีการป้องกันหลากหลายวิธีอันเป็นการควบคุมสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการตาล้าที่สามารถทำได้ คือ พฤติกรรม และสภาพแวดล้อม ดังนี้
- หลีกเลี่ยงการนั่งหน้าพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมในที่ที่มีแสงน้อย
- ปรับแสงหน้าจอจาดอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือแสงในห้องให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ทำ
- สวมแว่นป้องกันอันตรายจากแสงสีฟ้า และแสง UV
- กำหนดเวลาในการพักสายตาเป็นระยะทุก ๆ 30- 50 นาที
- กระพริบตาบ่อย ๆ เพื่อลดการระเหยของน้ำตาและช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา
วิธีการบรรเทาอาการตาล้า
เมื่อมีอาการสายตาล้าเกิดขึ้น และอาการไม่ได้มีความรุนแรงหรือหลายอาการมากนัก ซึ่งอาจนำไปสู่โรคอื่น ๆ ได้ ก็สามารถที่จะบรรเทาอาการด้วยวิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ เช่น
- การบริหารกล้ามเนื้อสายตาสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น กลอกตาขึ้นลงหรือซ้ายขวา สลับระยะการมอง เป็นต้น
- พักสายตาด้วยการหลับตา หรือลุกออกจากโต๊ะทำงานหากกำลังนั่งทำงานอยู่เพื่อให้สายตาได้พัก
- ใช้น้ำตาเทียมหยอดตาเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดวงตา ให้มีควาสบายตามากยิ่งขึ้น
วิธีการรักษาอาการตาล้า
อาการตาล้า เป็นอาการที่ไม่ได้มีความรุนแรง สามารถหายได้เองหากมีการพักผ่อนหลังเกิดอาการอย่างเพียงพอ
โดยสามารถใช้วิธีบรรเทาอาการให้ดีขึ้นเดี๋ยวก็หายไปเอง แต่หากลักษณะอาการที่เกิดขึ้นใช้วิธีบรรเทาอาการแล้วไม่หาย หรือมีความรุนแรงมาก ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วนเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาต่อไป
เนื่องจากอาจมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะอาการของโรคเกี่ยวกับดวงตาบางโรคจะยังไม่เกิดอาการในระยะแรก แต่ละเกิดอาการในระยะที่เป็นรุนแรง เช่น ต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น
บทสรุป :
อาการตาล้าเป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นเป็นปกติเมื่อเราใช้สายตาหนักเกินไปจากการเพ่งมาก ๆ หรือใช้สายตาเป็นเวลานาน แสดงออกเป็นอาการต่าง ๆ ที่เราคุ้นเคย เช่น ตากระตุก ตาแห้ง ปวดตา เป็นต้น
เกิดขึ้นได้บ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ ให้ใช้ในชีวิตประจำวันและมีความสำคัญอย่างมากที่เราต้องใช้
เราจึงต้องรู้จักการปรับตัวโดยการป้องกัน บรรเทาอาการ หรือรักษาอาการตาล้า เพื่อให้สามารถป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับดวงตาได้ในอนาคต
ORRA เป็นคลินิกแว่นตาโปรเกรสซีฟครบวงจร ที่พร้อมใหเบริการคุณค่ะ
หากต้องการปรึกษาเรื่องแว่นตาทักเราที่นี่ค่ะ LINE:@orra-od